ช่วงนี้เทรนด์การไปต่างประเทศมาแรงมาก แน่นอนว่าคนที่มีความสนใจเรื่องนี้มีสองกลุ่ม หนึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังเข้าสู่วัยทำงานจนถึงทำงานแล้วอยากจะไปตั้งตัวที่ต่างประเทศหลังจากเรียนจบ สองเป็นกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่นที่อยากจะไปศึกษาต่อที่นั่นแล้วทำงาน ตั้งรกรากที่นั่นเลย ไม่ว่าเราจะเป็นกลุ่มไหนก็ตาม สิ่งที่ต้องรู้เอาไว้อย่างหนึ่งก็คือระบบการศึกษาของประเทศปลายทางเป็นอย่างไร จะได้ปรับตัวถูก วันนี้เรามาแนะนำระบบการศึกษาของประเทศอเมริกากันว่าเค้าทำกันอย่างไร
ระบบการศึกษาอเมริกา ระดับขั้นพื้นฐาน
การศึกษาของอเมริกา เอาเค้าจริงโครงสร้างแทบจะไม่แตกต่างจากของไทยมากนัก ในช่วงแรกเริ่มจนถึงระดับมัธยมศึกษาในบ้านเรา ระบบการศึกษาของอเมริกาจะเริ่มต้นจากการเรียนชั้นอนุบาล เรียกว่า Kindergarten เข้าเรียนตั้งแต่อายุประมาณ สามขวบ จากนั้นก็จะเข้าต่อเนื่อง
จากนั้นพออายุได้ 6 ขวบ การเรียนรู้จะเริ่มจริงจังมากขึ้น เพราะเข้าระบบการศึกษาเต็มตัวแล้ว ที่นั่นจะแบ่งระดับการศึกษาเป็น Grade หรือระดับชั้นในภาษาบ้านเรา แบ่งเป็นทั้งหมดสามช่วงก็คือ
ช่วงที่ 1 จะเป็น Grade 1-6 หรือพูดง่ายๆว่า ป.1-6 แบบบ้านเรา ในภาษาอังกฤษใช้คำว่าเรียกกลุ่มนี้ว่า Elementary school เมื่อจบจากระดับนี้ ก็จะเข้าสู่ระดับที่สองแบ่งเหมือนบ้านเราก็คือมัธยมศึกษาตอนต้น นับเป็น Grade 7-8 แตกต่างกันตรงที่ของเค้าจะเป็นสองปี แต่ของไทยจะสามปี เรียกกลุ่มนี้ว่า Junior high school เมื่อจบแล้วจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายก็คือ Grade 9-12 เรียกกลุ่มนี้ว่า Senior High school หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย แตกต่างจากบ้านเรานิดหนึ่งตรงที่ของเค้าจะเป็นหลักสูตรสี่ปี แต่ของบ้านเราเป็นสามปี รวมเบ็ดเสร็จทั้งหมดจะเป็น 12 ปี (ไม่นับระดับอนุบาล) เท่าของไทยเลยแต่แบ่งไม่เหมือนกันอย่างที่เล่าไป ซึ่งหลังจบจากชั้นนี้ก็จะเป็นการจบการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน
ระดับอุดมศึกษา
เมื่อจบระดับขั้นพื้นฐานก็จะเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา หรือ ระดับวิทยาลัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัย สำหรับระบบการศึกษาของประเทศอเมริกาตรงนี้จะแตกต่างจากของไทยพอสมควร เราขอแยกย่อยออกตามลักษณะของสถานศึกษาที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ทั้งของรัฐและเอกชน
หนึ่ง วิทยาลัยชุมชน อันนี้จะเป็นสถานศึกษาคล้ายกับระดับวิทยาลัยในบ้านเรา ในนั้นจะมีการเลือกเรียนได้สองรูปแบบ หนึ่งเป็นการเรียนแบบ 4 ปี เรียกว่า Transfer track แบ่งออกเป็นช่วงแรกจะเรียนสองปี เพื่อศึกษาวิชาพื้นฐาน จากนั้นก็เอาผลการเรียนไปเทียบเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้อีกสองปี สองจะเป็นการเรียนแบบ Terminal การเรียนแบบนี้จะเป็นการเรียนสองปี แล้วได้รับวุฒิอนุปริญญาตรี เพื่อทำไปยื่นเข้าทำงานได้เลย
สอง วิทยาลัย สถานศึกษานี้จะมีการเรียนการสอนแบบปริญญาโดยตรง แต่จะแตกต่างจากข้อแรกนิดหนึ่งที่ว่า เราสามารถเรียนจนจบหลักสูตรแบบ 4 ปีในนี้ได้เลย พอเรียนจบแล้ว เราสามารถใช้วุฒิการศึกษาที่ได้ยืนสมัครงานได้ วุฒิที่ได้นั้นมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยทุกประการ อีกทั้งวิทยาลัยจะมีการสอนไปจนถึงระดับปริญญาโทเลย
สามมหาวิทยาลัย สถานศึกษานี้จะเป็นเหมือนกับบ้านเรา ก็คือ มหาวิทยาลัยจะเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ซึ่งเราสามารถเรียนตั้งแต่ต้นจนจบได้ แต่มหาวิทยาลัยที่นี่บางแห่งอาจจะมีสถานะเป็นวิทยาลัยของบางแห่งด้วย
สี่สถาบันเทคโนโลยี แห่งสุดท้ายก็จะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของมหาวิทยาลัยเช่นกัน สอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก แต่จุดมุ่งหมายจะเน้นไปที่การสอนทางด้านสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คล้ายกับ สถาบันพระจอมเกล้า บ้านเรา
จากที่เล่ามาทั้งหมด ต้องบอกว่าระบบการศึกษาของอเมริกานั้นไม่ค่อยแตกต่างจากของไทยเราเท่าไร (เข้าใจว่า เราเอาของทางอเมริกาเป็นต้นแบบ) ดังนั้นหากใครจะไปต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อประเทศอเมริกาถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจมากทีเดียว