เรียนรู้การศึกษาในประเทศอินเดีย

การศึกษาในประเทศอินเดียการศึกษาในประเทศอินเดียอุตสาหกรรมการศึกษาของอินเดียมีบทบาทต่อการปลูกฝังหลักฆารวาสนิยม (Secularism) และหลักประชาธิปไตย ซึ่งจะมีการประกอบด้วยความเข้าใจ ในสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ (Egalitarianism)  และรวมถึงการยึดมั่นในความยุติธรรม ทัศนคติดังกล่าวทำให้ระบบการศึกษาของอินเดียนั้นได้รับการสนับสนุนจากรับบาลของอินเดียเพื่อที่จะต้องการให้อินเดียมีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพทัดเทียมกับบุคลากรในประเทศอื่นๆ เพราะเหตุนี้อินเดียจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีเครือข่ายการศึกษาใหญ่ที่สุดในโลก

    หลักสูตรการศึกษาในประเทศอินเดีย

หลักสูตรของระบบการศึกษาในประเทศอินเดียนั้น จะขอแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร ด้วยกัน ได้แก่

  1. จะเป็นหลักสูตรโดยสภาที่วัดผลการศึกษาภายในโรงเรียน (CISCE)

โดยหลักสูตร CISCE นี้ จะมีการเริ่มมีการเรียนตั้งแต่เกรด 5 และจะมีการให้นักเรียนนั้นได้มีโอกาสเลือกสายวิชาที่จะเรียนได้ในเกรด 9 ซึ่งเร็วกว่าหลักสูตรอื่น จุดเด่นของหลักสูตรนี้ คือจะมีภาคการเรียนและการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทำให้เด็กที่เรียนในหลักสูตรนี้จะมีทักษะในภาษาอังกฤษที่ดี และพร้อมสำหรับการสอบ TOEFL หรือ IELT เพื่อที่จะมีโอกาสได้ไปเรียนต่อในต่างประเทศเป็นหลักสูตรที่มีโอกาสที่นักเรียนจะสามารถไปเรียนต่อในต่างประเทศมากกว่าหลักสูตรอื่น

2.หลักสูตรโดยคณะกรรมการกลางมัธยมศึกษา (CBSE)

สำหรับในหลักสูตรนี้นั้นจัดเป็นหลักสูตรที่ใช้กันทั่วไปในระบบการศึกษาของประเทศอินเดีย เนื่องจากถูกควบคุมโดยคณะกรรมการกลางมัธยมศึกษา เป็นหลักสูตรที่เน้นในการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยจะเริ่มตั้งแต่เกรด 5 เช่นเดียวกันกับ CISCE  แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่นักเรียนนั้นจะสามารถเลือกที่จะเรียนต่อในสายการเรียนใดก็ได้เมื่อสำเร็จการศึกษาในเกรด 10 แล้ว

  1. หลักสูตรนานาชาติ (IB) สำหรับในหลักสูตร IB นั้น ถูกบริหารจัดการโดย International Baccalaureate Organization (IBO) ซึ่งองค์กรนี้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ อนุบาล ถึง เกรด 5 , เกรด6 ถึง เกรด 10 , เกรด11 ถึง เกรด 12

การแบ่งระดับการศึกษาในประเทศอินเดียนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ (ตามหลักสูตร CBSE ) ดังนี้

  1. ระดับชั้นอนุบาล (Kindergarten )

เป็นระดับชั้นที่เป็นการเตรียมความพร้อมในการศึกษาก่อนที่จะเข้าโรงเรียน สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ด้วยกัน โดยในการศึกษาของระดับชั้นอนุบาลของประเทศอินเดียนั้นไม่ถือว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ

  1. ระดับประถมศึกษา (Primary School)

สำหรับในระดับชั้นนี้จัดว่าเป็นการศึกาภาคบังคับในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5- 9 ปี โดยแบ่งออกเป็น 6 ระดับชั้น คือเกรด 1-4

3.ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education )ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Secondary School )  สำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 9-15 ปี คือ เกรด 5-10 หลังจากการที่นักเรียนได้จบหลักสูตรการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น

-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 15-17 ปี นั้นคือ เกรด 11-12 นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น ต้องเลือกหนึ่งในสามสายวิชาหลัก นั้นคือ วิทยาสาสตร์ (Science) , พาณิชยศาสตร์ (Commerce) และ ศิลป์ภาษา (Art)  สำหรับในสายวิชาที่นักเรียนได้เลือกจะเป็นตัวกำหนดสาขาที่นักเรียนจะสามารถเข้าเรียนได้ในระดับอุมศึกษาต่อไป  โดยภายหลังจากการที่นักเรียนได้เรียนจนสำเร็จหลักสูตรนี้แล้ว นักเรียนจะได้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย

  1. ระดับอาชีวศึกษา ( Vocational Education)

นอกจากการที่จะเข้าศึกษาในระดับ Higher Secondary School แล้วนักเรียนที่มีความสามารถและถนัดทางด้านงานฝีมือ และสนใจที่จะประกอบอาชีพที่เฉพาะทาง ก็สามารถเลือกที่จะเข้าเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาได้โดยมีทั้งหลักสูตรระยะสั้น    6-12 เดือน และหลักสูตรในระยะยาว 2- 4 ปี

5.ระดับอุดมศึกษา (Higher Education )

สำหรับในระดับอุดมศึกษาของประเทศอินเดียนั้นจะประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัย ถึง 700 แห่งด้วยกัน และยังมีวิทยาลัยถึง 35,000 แห่ง มีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนถึง 25 ล้านคนในแต่ละปี มหาวิทยาลัยในส่วนมากจะเป็นมหาวิทยาลัยของภาครัฐ  โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตร Affiliated Colleges  อย
ภายใต้การควบคุมดูแล ทั้งหลักสูตรและการสอบวัดผล โดยมหาลัยจะเป็นผู้ทำการดูแลและออกข้อสอบเองทั้งหมด  โดยหลังจากที่มีการสำเร็จการสึกษาแล้ว นักศึกษาจะได้รับใบปริญญาขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยของตนเองทั้งหมด  มหาวิทยาลัยของอินเดียควบคุมและดูแลหลักสูตรโดย  UGC  โดยระดับอุดมศึกษานั้นประกอบไปด้วยระดับปริญญา ตรี , โท และ เอก