Interactive learning คือ การศึกษาในแนวที่ผู้เรียนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนผ่านรูปแบบต่างๆ ที่สามารถ “ตอบได้” กับผู้เรียน หรือเรียกง่ายๆสำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ว่า “การเรียนรู้แบบตอบโต้” นั้นเอง ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของการเรียนรู้ในรูปแบบตอบโต้นั้น คือ “ข้อมูลข่าวสาร” และรวมไปถึงรูปแบบในการที่จะออกแบบสื่อการสอนที่ทำให้ดึงดูดใจผู้เรียน สิ่งนี้จะสามารถที่จะทำให้ผู้เรียนนั้นเกิดความรู้สึกที่อยากจะเรียนมากยิ่งขึ้น อยากเรียนรู้มากขึ้นไปอีก
โดยที่การเรียนรู้ในแบบตอบโต้นั้น ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ ผ่านการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่สามารถทำให้เกิดการตอบโต้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างสะดวกสบาย และในปัจจุบันการเรียนรู้ในรูปแบบนี้นั้นมักที่จะเกิดการเจริญเติบโตขึ้นตามเทคโนโลยีดิจิตอล ที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในโลกยุคนี้
กิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองคืออะไร ?
กิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนอง คือ การนำเอาการศึกษาที่ออกแบบให้มีคู่มือ สำหรับการแจกให้แก่ผู้เรียนความรู้โดยตรงของเนื้อหาและวัตถุดิบที่พวกเขาได้ถ่ายทอดในหลักสูตรของเนื้อหาโดยทั่วไป การเรียนรู้แบบตอบสนองยังสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า การเรียนรู้ในเชิงประสบการณ์ โดยผ่านการศึกษาผู้ใหญ่ในเชิงตอบสนอง ผู้เรียนนั้นจะได้รับการกลับเข้ามาเกี่ยวข้องในการถ่ายทอดกระบวนการแทนที่การรับข้อมูลข่าวสารในเชิงเฉื่อยชาในลักษณะวิธีการบรรยายแบบเก่าโบราณ
เหตุผลสำหรับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในเชิงตอบสนอง
เรานั้นมักจะรู้แต่วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะสอนง่ายกว่าในบรรยากาศของห้องแล็บ ในขณะที่ผู้เรียนนั้นสามารถที่จะเรียนรู้ในการแก้ปัญหาโดยผ่านเทคนิคที่วางไว้ เครื่องมือ การบรรยาย และการนำทาง สิ่งที่เหมือนกันที่เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นจริงในศิลปะ และขอบเขตเนื้อหาวิชาการทางด้านมนุษย์วิทยา เมื่อนักศึกษาได้จัดแจงในกระบวนการศึกษาในเชิงบวก พวกเขาเรียนรู้มากขึ้น และการเรียนรู้เหล่านั้นจะมีความมั่นคงมากและในระยะยาว เมื่อพวกเขาส่งเสริมความรู้ด้วยตัวของเขาเอง นักศึกษากลับกลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสอนด้วยตัวเองของเขา และดังนั้นเป็นการปรับปรุงทักษะทางความคิดที่เหนือกว่าหรือความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์
ตัวอย่างเทคนิคการเรียนรู้แบบ Active Learning
1.การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด
2.การเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน
4.การเรียนรู้แบบใช้เกม
5.การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วิดีโอ
6.การเรียนรู้แบบโต้วาที
7.การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ
8.การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย
9.การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา
10.การเรียนรู้แบบเขียนจดหมายข่าว
11.การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก
12.การเรียนรู้แบบเขียนผังความคิด
ข้อควรระวัง
1.เนื่องจากการเรียนรู้ในรูปแบบนี้นั้น มีรากฐานมาจากแนวความคิดทางการศึกษาที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนนั้นจะเป็นคนสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่เอง ด้วยการนำไปประกอบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นการนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่ผิดได้
2.ความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรมนั้นอาจจะไม่ก่อให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมทางด้านการรู้คิดเสมอไป
3.กรณีการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมค้นพบความรู้ด้วยตนเองนี้ ไปใช้กับการพัฒนาการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย จะเหมาะกับการพัฒนาในขั้น การทำความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ขึ้นไป มากกว่าขั้นการให้ข้อมูลความรู้
สรุป การเรียนในรูปแบบนี้ มีขึ้นเพื่อเน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยมีการนำเอาวิธีการสอนและเทคนิคที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมของผู้เรียน กระตุ้นให้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนนั้นประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา หรือประกอบอาชีพในอนาคต และการเรียนรู้รูปแบบนี้ก็สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน